วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แสง

              ก่อนศตวรรษที่ 17 การศึกษาเรื่องแสงเชื่อกันว่า แสงเป็นอนุภาคที่ถูกส่งออกมาจากต้นกำเนิดแสง แสงสามารถผ่านทะลุวัตถุโปร่งใสและสะท้อนจากผิวของวัตถุทึบแสงได้ เมื่ออนุภาคเหล่านี้ผ่านเข้าสู่ตาจะทำให้เกิดความรู้สึกในการมองเห็น

     •   นิวตัน (Newton) ได้เสนอทฤษฎีอนุภาคของแสง (particle theory) ซึ่งสามารถนำไปใช้อธิบาย ปรากฏการณ์สะท้อนและการหักเหของแสง
     • ฮอยเกนส์ (Christain Huygen) ได้เสนอทฤษฏีเกี่ยวกับคลื่นแสง (Waves Theory) กล่าวว่าแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเดินทางในลักษณะของคลื่น นอกจากนี้ยังได้แสดงให้เห็นว่า กฎการสะท้อน และการหักเหสามารถอธิบายได้โดยใช้ทฤษฎีคลื่นแสง
     
หลักของฮอยเกนส์ กล่าวว่า ทุก ๆ จุดบนหน้าคลื่นเดียวกัน อาจถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นชุดใหม่ ที่แผ่ออกไปทุกทิศทางด้วยอัตราเร็วเท่าเดิมดังรูป




รูปที่ 3 แสดงหน้าคลื่นโดย ab เป็นหน้าคลื่นเดิม , a’b’ เป็นหน้าคลื่นใหม่
 ที่มา http://www.rmutphysics.com


      ทอมัส ยัง (Thomas Young) ได้ค้นพบปรากฏการณ์การแทรกสอดของแสง
       เฟรสเนล (Augustin Fresnel) ได้ทำการทดลอง เกี่ยวกับการ แทรกสอด และการเลี้ยวเบนของ  แสง
    
     แสงช่วงที่ตาสามารถ มองเห็นมีค่าอยู่ระหว่าง 400 – 700 นาโนเมตร และมีความถี่อยู่ในช่วง 103-105 เฮิรตซ์ โดยแสงสีม่วงซึ่งมีความยาวคลื่นน้อยที่สุด หรือ ความถี่สูงสุด ส่วนแสงสีอื่น ๆ ให้สเปคตรัมของแสงในช่วงนี้ก็มีความยาวคลื่นสูงขึ้นตามลำดับ จนถึงแสงสีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุดหรือมีความถี่ต่ำที่สุด ดังรูป 






คลื่นที่มีความถี่ต่ำกว่าแสงสีแดงเรียกว่า อินฟราเรด” (infrared) ส่วนคลื่นที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วงเรียกว่า อัลตราไวโอเลต” (Ultraviolet)
ที่มา http://www.rmutphysics.com


วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเคลื่อนที่และอัตราเร็วของแสง

        
      คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับไมโครเวฟ อัลตราไวโอเลต ฯลฯ ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆกันรวมทั้งแสง จะเดินทางเป็นเส้นตรงด้วยอัตราเร็วเท่ากันคือv299,792,458 เมตรต่อวินาทีหรือประมาณ 300,000,000 เมตรต่อวินาที ในสุญญากาศ แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางอื่นๆ เช่น แก้ว   น้ำ ฯลฯ  อัตราเร็วแสงจะไม่เท่ากันแต่จะน้อยกว่าในสุญญากาศการทราบอัตราเร็วแสงในสุญญากาศ สามารถนำไปหาระยะทางที่แสงเดินทางได้ในเวลา 1 ปี เรียกว่าระยะทาง 1 ปีแสง ซึ่งมักใช้กับทางดาราศาสตร์การศึกษาทางเดินของแสง กำหนดให้ทิศทางเดินของแสงเขียนรูปแทนด้วยเส้นตรงที่มีหัวศร เรียกว่า "เส้นรังสีของแสง" หรือเรียกสั้นๆว่า"รังสี" ซึ่งเป็นเส้นที่ตั้งฉากกับหน้าคลื่น(ได้ศึกษามาแล้วจากบทคลื่นกล)  




รูปแสดงการเขียนเส้นรังสีของแสง
ที่มา pirun.ku.ac.th/


      แสงที่กล่าวถึงในที่นี้คือแสงที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ซึ่งเราเรียกว่า แสงขาว เป็นต้น แสงขาวดังกล่าวนั้นจะประกอบด้วยแสงสีต่าง ๆ หลายสี ได้แก่ แสงสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ดังรูป 1.1




รูป 1.1 แสดงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและแสง
ที่มา pirun.ku.ac.th/



สมบัติของแสง (แสงขาว)
1.เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง และจะเขียนแทนด้วย รังสีของแสง
2.แสงเดินทางสสุญญากาศด้วยอัตราเร็ว 300,000,000   เมตรต่อวินาที
3.เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่
4.เป็นคลื่นตามขวาง เพราะสามารถเกิดโพลาไรซ์ได้ 

    จากการศึกษาคลื่นแสงที่ผ่านมาพบว่าเมื่อแสงผ่านสลิตเดี่ยวที่แคบแสงจะเลี้ยวเบนและถ้าสลิตเดี่ยวมีความกว้างของช่องสลิตมากขึ้น การเลี้ยวเบนจะน้อยลง ในการอธิบายปรากฏการณ์นี้ การเขียนหน้าคลื่นจะทำให้เข้าใจดี ในกรณีแสงเคลื่อนที่ตัวผ่านตัวกลางในแนวนอนเส้นตรง พบว่าการเขียนเส้นตรงตั้งฉากกับหน้าคลื่นแสดงทิศทางของแสงที่เคลื่อนออกไปจะง่ายต่อการเข้าใจเรียกเส้นตรงนี้ว่ารังสี ตามปกติการเขียนรังสีจะใช้ลูกศรกำกับเพื่อแสดงทิศทางสามารถใช้รังสีกับคลื่นทุกชนิดดังรูป1.2 




รูป1.2 แสดงรังสีและหน้าคลื่นของคลื่นตกกระทบและคลื่นสะท้อน
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/01/page5.html
    


    
     



วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การสะท้อนของแสง



   เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งตกกระทบกับผิวของอีกตัวกลางหนึ่ง แสงจะเกิดการสะท้อนขึ้นกลับมาในตัวกลางเดิมโดยแสงที่สะท้อนออกมาจะเปลี่ยนแปลงตามพื้นผิวโดยถ้าพื้นผิวเรียบแสงสะท้อนจะเป็นระเบียบ แต่ถ้าผิวขุรขระ แสงสะท้อนจะกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ดังรูป





ที่มาhttp://nsbsc.blogspot.com/2012/09/blog-post_2170.html



      การสะท้อนของแสงทำให้เกิดมุมตกกระทบคือมุมที่แสงตกกระทบทำกับเส้นตั้งฉากกับกระจก และมุมสะท้อนคือมุมที่แสงสะท้อนทำกับเส้นตั้งฉากกับกระจก ตามปกติ เมื่อแสงตกกระทบวัตถุใด วัตถุส่วนมากจะดูดกลืนแสงไว้ส่วนหนึ่ง และแสงส่วนที่เหลือจะสะท้อนที่ผิววัตถุ สำหรับวัตถุที่เป็นกระจกเงา แสงจะสะท้อนเกือบทั้งหมด ถ้าให้รังสีของแสงตกกระทบที่ผิวราบและผิวโค้งนูนการสะท้อนของแสงที่แต่ละผิวให้ผลเช่นเดียวกันและมุมตกกระทบ  i และ มุมสะท้อน ในแต่ละกรณีก็มีค่าเท่ากัน 




              ก.ผิวราบ                               ข.ผิวโค้งนูน                            ค.ผิวโค้งเว้า

รูป 2.4 การสะท้อนของแสงที่ผิวเรียบแบบต่างๆ
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/01/page6.html



    ผิวราบและผิวโค้งที่กล่าวมาแล้วถือว่าเป็นผิวเรียบ ถ้าวัตถุมีผิวขรุขระการสะท้อนของแสงจะเป็นอย่างไร เมื่อพิจารณาบริเวณเล็ก ของผิวขรุขระ ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นผิวเรียบ เพราะผิวขรุขระประกอบด้วยผิวเรียบจำนวนมากโดยผิวเรียบเหล่านั้นวางตัวทำมุมต่างๆ กัน ดังนั้นถ้าให้แสงตกกระทบวัตถุที่มีผิวขรุขระ มุมตกกระทบที่ผิวเรียบเล็กๆ เหล่านั้นจะมีค่าต่างๆกัน ถึงกระนั้นมุมตกกระทบก็จะเท่ากับมุมสะท้อน ณ ตำแหน่งที่แสงตกกระทบเสมอ ดังนั้นแสงที่สะท้อนออกมาจึงมีทิศทางต่างๆกัน 



รูป2.5 การสะท้อนของแสงที่ผิวขรุขระ
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/01/page6.html



กฎการสะท้อนของแสง (Law of Reflection)
        มุมตกกระทบคือมุมที่รังสีตกกระทบ (Incident ray) ทำกับเส้นปกติ (Normal) ของผิวสะท้อน
        มุมสะท้อน (Reflected ray) คือมุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นปกติ

การสะท้อนของแสงที่มีระเบียบจะได้
    1. มุมตกกระทบมีค่าเท่ากับมุมสะท้อน 
    2. รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อนและเส้นปกติ จะอยู่ในระนาบเดียวกัน

รังสีตกกระทบ หมายถึงรังสีที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงที่ตกกระทบกับผิววัตถุ         
รังสีตกสะท้อน หมายถึงรังสีที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงที่สะท้อนออกจากผิววัตถุ
เส้นแนวฉากหรือเส้นปกติ คือเส้นตรงที่ลากตั้งฉากกับผิววัตถุ ณ จุดที่รังสีตกกระทบผิววัตถุ

สื่อวีดีโอการสะท้อนของแสง

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภาพที่เกิดจากกระจกเงาราบ

    การที่จะแสดงให้เห็นการเกิดภาพจากกระจก เริ่มจากเขียนทางเดินแสง(รังสี) ออกจากวัตถุ ซึ่งปกติจะกระจายออกไปทุกทิศทุกทาง  ไปตกกระทบกับผิวของกระจกเงาราบ  ตรงจุดที่ตกกระทบให้เขียนเส้นปกติขึ้นมาได้มุมตกกระทบ ( i )  แล้วลากเส้นรังสีสะท้อนให้มุมสะท้อน ( r ) เท่ากับมุมตกกระทบ ให้ต่อแนวรังสีสะท้อนไปด้านหลังกระจกทุกเส้นจะไปพบกันที่จุดหนึ่ง ซึ่งเป็นตำแหน่งการเกิดภาพ จะได้ระยะวัตถุ(ระยะจากวัตถุไปยังกระจก )

         และระยะภาพ(ระยะภาพไปยังกระจก) มีค่าเท่ากัน  เนื่องจากการเกิดภาพแบบนี้เมื่อเอาฉากหรือจอไปรับ จะไม่ปรากฏภาพบนฉากรับนั้น ภาพแบบนี้เรียกว่า ภาพเสมือน (อาจพิจารณาภาพเสมือนจากการที่รังสีสะท้อนไม่ได้พบกันที่ตำแหน่งเกิดภาพจริงๆ)






ที่มา  http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์ม-4/3-มวล-แรง-และกฎการเคลื่อน/




ฐานวัตถุอยู่ที่ เกิดฐานภาพหลังกระจกที่ P’  และถ้าหัววัตถุอยู่ที่ Q จะเกิดหัวภาพที่ Q’
ที่มา  http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์ม-4/3-มวล-แรง-และกฎการเคลื่อน/






รูปแสดงการมองเห็นภาพ จากรังสีสะท้อนเข้าสู่ตา
ที่มา  http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์ม-4/3-มวล-แรง-และกฎการเคลื่อน/



            เมื่อวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงาราบ  เราสามารถเห็นทั้งวัตถุและภาพของวัตถุในกระจกเงาราบได้   เพราะมีแสงจากวัตถุมาเข้าตา   แต่การเห็นภาพของวัตถุนั้น   เกิดจากการที่แสงจาก วัตถุไปตกกระทบผิวกระจกเงาราบแล้วสะท้อนกลับมาเข้าตาเรา ตามปกติแสงจากวัตถุจะกระจายออกไปทุกทิศทางและจะตกกระทบเต็มพื้นที่ผิวของ กระจกเงาราบ   ถ้าพิจารณาแสงจากวัตถุเป็นรังสี   จะมีรังสีของแสงจำนวนมากมายจากวัตถุตก กระทบผิวของกระจกเงาราบ ทำให้สามารถแสดงที่มาของภาพในกระจกเงาราบได้  ด้วยการใช้ กฎการสะท้อนของแสงเขียนรังสีตกกระทบ   รังสีสะท้อนและเส้นแนวฉากจากนั้นต่อแนวรังสี สะท้อนไปทางด้านหลังของกระจกเงาราบ จากสมบัติเชิงเรขาคณิตของแสง อาจแสดงได้ว่ารังสี สะท้อนเหล่านี้  เสมือนออกมาจากจุดจุดหนึ่ง ซึ่งก็คือตำแหน่งภาพของวัตถุนั่นเอง ดังรูป ก. ระยะที่วัตถุอยู่ห่างจากผิวกระจกเรียกว่า   ระยะวัตถุ   ระยะที่ภาพอยู่ห่างจากผิวกระจกเรียกว่า ระยะภาพ   ตามรูป ก และ ข จุด   P'  เป็นภาพของ   P   โดยมี  PA   เป็นระยะวัตถุและ P'A   เป็นระยะภาพ




ก.วัตถุที่มีลักษณะเป็นจุด ภาพก็เป็นจุด    ข.วัตถุที่มีขนาด  ภาพก็มีขนาด

ที่มา- หนังสือฟิสิกส์ ชั้นม.5 เล่ม2
ก.วัตถุที่มีลักษณะเป็นจุด ภาพก็เป็นจุด    ข.วัตถุที่มีขนาด  ภาพก็มีขนาด


            เพื่อความสะดวกในการหาตำแหน่งภาพ จะใช้รังสีตกกระทบจากจุดหนึ่งๆของ วัตถุเพียง  2  รังสี   ดังนั้นการแสดงการเห็น ภาพของวัตถุในกระจกเงาราบอาจแสดงได้ ดังรูป 2.1.1โดยวางตาในตำแหน่งที่เหมาะสม




ที่มา- หนังสือฟิสิกส์ ชั้นม.5 เล่ม2รูป 2.1.1 การมองเห็นภาพในกระจกเงาราบ

             รูป 2.1.2 แสดงการหาระยะภาพ P เป็นวัตถุที่เป็นจุด ถ้า PB เป็นรังสีจากวัตถุที่ตกกระทบกระจกเงาราบ และ BQ เป็นรังสีสะท้อน ต่อ QB ไปตัดส่วนต่อของ PA ที่จุด P' ตามรูป 2.1.2 ก.  P'  เป็นภาพของ P




ที่มา- หนังสือฟิสิกส์ ชั้นม.5 เล่ม2


รูป 2.1.2การเขียนรังสีของแสงเพื่อหาตำแหน่ง และขนาดของวัตถุที่เกิดจากกรจกเงาราบ





สรุปได้ว่า     ระยะวัตถุเท่ากับระยะภาพเสมอ
          ในรูป 14.8ข ถ้าวัตถุ PQ มีลักษณะเป็นเส้นตรง และ ยาว y จากข้างบนภาพของจุด P และ Q

จะอยู่ที่จุด P' และ Q'  ดังนั้น P' Q' เป็นภาพของ PQ และมีความยาม y'  เพราะ PA = AP'  และ QB=BQ'
 จากเรขาคณิตจะได้ว่า
PQ   =    P' Q'    หรือ      y    =    y'
จะเห็นได้ว่าสำหรับการเกิดภาพในกระจกเงาราบความยาวของภาพเท่ากับความยาวของวัตถุเสมอ

1.  ระยะภาพเท่ากับระยะวัตถุ

2.  ความยาวของภาพเท่ากับความยาวของวัตถุ


            การศึกษาภาพของวัตถุที่เกิดในกระจกเงาราบที่ผ่านมาเป็นกรณีที่วัตถุมีขนาดเล็กกว่ากระจกเงาราบ  ถ้าวัตถุมีขนาดใหญ่กว่ากระจกเงาราบ เราก็สามารถเขียนรังสีโดยใช้กฎการสะท้อนแสงเพื่อแสดงการเกิดภาพในกระจกเงาราบได้เช่นสำหรับวัตถุที่มีรูปทรงเช่นกล่องหรือเก้าอี้  ซึ่งประกอบด้วยจุดจำนวนมาก ดังนั้น เมื่อวัตถุ อยู่หน้ากระจกเงาราบ  เพราะภาพของจุดแต่ละจุดที่เกิดขึ้นจะมีระยะภาพเท่ากับระยะวัตถุ ทำให้  องค์ประกอบอื่นๆของวัตถุที่ปรากฏเป็นภาพก็จะมีขนาดเท่ากันด้วย  จึงทำไห้สรุปได้ว่า ขนาดของภาพที่ได้จากการวางวัตถุไว้หน้าผิวสะท้อนราบใดๆจะเท่ากับขนาดของวัตถุเสมอ ภาพของวัตถุในกระจกเงาราบนั้น  เป็นภาพที่เกิดจากรังสีสะท้อนมาเข้าตาจึงทำไห้ดูเสมือนว่ารังสีเหล่านั้นมาจากภาพอยู่หลังกระจก และ ถ้าเรานำฉากไปวาง ณ ตำแหน่งที่เห็นภาพนั้นก็จะไม่มีภาพใดๆปรากฏบนฉาก ภาพที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า ภาพเสมือน



วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภาพที่เกิดจากกระจกเงาทรงกลม

            กระจกเงาทรงกลม เป็นส่วนหนึ่งของผิวโค้งทรงกลม แบ่งเป็นกระจกโค้งเว้า ( concave mirror ) และกระจกโค้งนูน (convex mirror )


รูปแสดงกระจกโค้งนูนและโค้งเว้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม
กระจกเว้าและกระจกนูน มีจุดศูนย์กลางความโค้งที่จุดศูนย์กลางวงกลม ( c )  วัดตามแกนมุขสำคัญไปถึงกระจก เท่ากับรัศมี (R) วัดจากกระจกถึงกึ่งกลางความยาว R เท่ากับ ความยาวโฟกัส (f)


ที่มา http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์-4/3-มวล-แรง-และกฎการเคลื่อน



 ที่มา http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์-4/3-มวล-แรง-และกฎการเคลื่อน


ที่มา http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์-4/3-มวล-แรง-และกฎการเคลื่อน



            จากรูปบน เมื่อมีรังสีขนานกับแกนมุขสำคัญ เข้ามาตกกระทบกระจกโค้งเว้า จากกฏการสะท้อน จะทำให้ได้รังสีสะท้อน เข้ามาตัดกันที่จุดโฟกัส   และเมื่อรังสีขนานตกกระทบกระจกนูน จะทำให้รังสีสะท้อนแยกออก แต่เมื่อต่อแนวรังสีสะท้อนไปด้านหลังกระจก จะตัดกันที่จุดโฟกัส

             กระจกเงาโค้งทรงกลมเป็นส่วนหนึ่งของผิวโค้งทรงกลม  ถ้าใช้ผิวโค้งเว้าของกระจกเป็นผิวสะท้อนแสง เรียกว่า กระจกเว้า ดังรูป 2.2.1 ก. และถ้าใช้ผิวโค้งนูนของกระจกเป็นผิวสะท้อนแสง เรียกว่า กระจกนูน ดังรูป 2.2.1 ข. พิจารณารูปกระจกเว้าและกระจกนูน ในรูป2.2.2 C เป็นศูนย์กลางความโค้งของกระจก และของทรงกลม R เป็นรัศมีความโค้งของกระจก และรัศมีของทรงกลม เส้นตรงที่ลากผ่านจุด C ไปหาตำแหน่ง V ที่เป็นจุดกึ่งกลางบนผิวโค้งของกระจกเรียกว่า เส้นแกนมุขสำคัญ MM/  เป็นความกว้างของกระจกโค้ง ซึ่งมีค่าน้อย เมื่อเทียบกับรัศมีความโค้ง 




ที่มา  http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/01/page8.html


           สำหรับรังสีตกกระทบทั้งหลายที่ขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญของกระจกเว้า  และมีแนวไม่ห่างจากแกนมุขสำคัญมาก  รังสีสะท้อนจะตัดแกนมุขสำคัญที่จุดๆหนึ่ง ซึ่งอยู่หน้ากระจกห่างจากจุดยอดของกระจกเท่ากับ ครึ่งหนึ่งของรัศมีความโค้งของกระจก จุดนี้รัยกว่า โฟกัส ดังรูป 14.10 จุด F เป็นโฟกัสและระยะทางจากโฟกัสถึงจุดยอดของกระจก เรียกว่า ความยาวโฟกัส
ถ้า f แทนความยาวโฟกัส และ R แทนรัศมีความโค้งของกระจกเว้า
F=R/2



ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/01/page8.html

            ในกรณีของกระจกนูน รังสีตกกระทบของแสงที่มีแนวขนานกับแกนมุขสำคัญจะสะท้อนที่กระจกนูนตามกฎการสะท้อนของแสงดังรูป2.2.3ถ้าต่อแนวของรังสีสะท้อนให้ย้อนกลับไปพบกันจะได้จุดตัดของรังสีสะท้อนหรือโฟกัสของกระจกความยาวโฟกัสของกระจกนูนเป็ครึ่งหนึ่งของรัศมีความโค้งเช่นเดียวกับกระจกเว้าดังสมการสำหรับรังสีทั้งหลายที่ขนานกันแต่ไม่ขนานกับแกนมุขสำคัญ  เมื่อสะท้อนกับกระจกโค้งจะไปตัดกันที่จุดบนราบโฟกัส  รูป 2.2.4แสดงการสะท้อนแสงที่กระจกเว้าในกรณีที่รังสีตกกระทบไม่ขนานเส้นแกนมุขสำคัญ  อย่างไรก็ตาม

หลักเกณฑ์นี้ใช้ได้เฉพาะรังสีตกกระทบที่ทำมุมเล็กกับแกนมุขสำคัญ และตกกระทบกระจกบริเวณใกล้กึ่งกลางกระจกเท่านั้น 


การหาตำแหน่งภาพวัตถุมีขนาดที่อยู่หน้ากระจกเว้าสรุปเป็นหลักใช้ในการเขียนแสดงการเกิดภาพดังนี้

เขียนรังสีตกกระทบจากปลายวัตถุถึงผิวกระจกในแนวซึ่งขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญจะได้รังสีสะท้อนจากผิวกระจกผ่านโฟกัส
เขียนรังสีตกกระทบจากปลายวัตถุผ่านจุดโฟกัสถึงผิวกระจก  จะได้รังสีสะท้อนจากผิวกระจกขนานกับแกนมุขสำคัญ
เขียนรังสีตกกระทบจากปลายวัตถุผ่านศูนย์กลางความโค้งถึงผิวกระจก  จะได้รังสีสะท้อนจากผิวกระจกย้อนกลับทางเดิม

สำหรับขนาดของภาพมีทั้งใหญ่กว่า  เท่าและเล็กกว่าวัตถุ  เรียกการเปรียบเทียบขนาดของภาพกับขนาดของวัตถุ  ว่า การขยาย ให้ M แทนการขยายจะได้




  สำหรับการเกิดภาพของกระจกนูน  พบว่าภาพจากกระจกนูน  เป็นภาพเสมือนที่มีขนาดเล็กกว่าวัตถุทั้งสิ้น การหาตำแหน่งภาพ  นอกจากจะใช้วิธีเขียนรังสีของแสงตกกระทบและรังสีของแสสะท้อนแล้ว  ยังสามารถใช้วิชาคณิตศาสตร์คำนวณหาตำแหน่งภาพได้ 



ที่มา  http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/01/page8.html