วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภาพที่เกิดจากกระจกเงาราบ

    การที่จะแสดงให้เห็นการเกิดภาพจากกระจก เริ่มจากเขียนทางเดินแสง(รังสี) ออกจากวัตถุ ซึ่งปกติจะกระจายออกไปทุกทิศทุกทาง  ไปตกกระทบกับผิวของกระจกเงาราบ  ตรงจุดที่ตกกระทบให้เขียนเส้นปกติขึ้นมาได้มุมตกกระทบ ( i )  แล้วลากเส้นรังสีสะท้อนให้มุมสะท้อน ( r ) เท่ากับมุมตกกระทบ ให้ต่อแนวรังสีสะท้อนไปด้านหลังกระจกทุกเส้นจะไปพบกันที่จุดหนึ่ง ซึ่งเป็นตำแหน่งการเกิดภาพ จะได้ระยะวัตถุ(ระยะจากวัตถุไปยังกระจก )

         และระยะภาพ(ระยะภาพไปยังกระจก) มีค่าเท่ากัน  เนื่องจากการเกิดภาพแบบนี้เมื่อเอาฉากหรือจอไปรับ จะไม่ปรากฏภาพบนฉากรับนั้น ภาพแบบนี้เรียกว่า ภาพเสมือน (อาจพิจารณาภาพเสมือนจากการที่รังสีสะท้อนไม่ได้พบกันที่ตำแหน่งเกิดภาพจริงๆ)






ที่มา  http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์ม-4/3-มวล-แรง-และกฎการเคลื่อน/




ฐานวัตถุอยู่ที่ เกิดฐานภาพหลังกระจกที่ P’  และถ้าหัววัตถุอยู่ที่ Q จะเกิดหัวภาพที่ Q’
ที่มา  http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์ม-4/3-มวล-แรง-และกฎการเคลื่อน/






รูปแสดงการมองเห็นภาพ จากรังสีสะท้อนเข้าสู่ตา
ที่มา  http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์ม-4/3-มวล-แรง-และกฎการเคลื่อน/



            เมื่อวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงาราบ  เราสามารถเห็นทั้งวัตถุและภาพของวัตถุในกระจกเงาราบได้   เพราะมีแสงจากวัตถุมาเข้าตา   แต่การเห็นภาพของวัตถุนั้น   เกิดจากการที่แสงจาก วัตถุไปตกกระทบผิวกระจกเงาราบแล้วสะท้อนกลับมาเข้าตาเรา ตามปกติแสงจากวัตถุจะกระจายออกไปทุกทิศทางและจะตกกระทบเต็มพื้นที่ผิวของ กระจกเงาราบ   ถ้าพิจารณาแสงจากวัตถุเป็นรังสี   จะมีรังสีของแสงจำนวนมากมายจากวัตถุตก กระทบผิวของกระจกเงาราบ ทำให้สามารถแสดงที่มาของภาพในกระจกเงาราบได้  ด้วยการใช้ กฎการสะท้อนของแสงเขียนรังสีตกกระทบ   รังสีสะท้อนและเส้นแนวฉากจากนั้นต่อแนวรังสี สะท้อนไปทางด้านหลังของกระจกเงาราบ จากสมบัติเชิงเรขาคณิตของแสง อาจแสดงได้ว่ารังสี สะท้อนเหล่านี้  เสมือนออกมาจากจุดจุดหนึ่ง ซึ่งก็คือตำแหน่งภาพของวัตถุนั่นเอง ดังรูป ก. ระยะที่วัตถุอยู่ห่างจากผิวกระจกเรียกว่า   ระยะวัตถุ   ระยะที่ภาพอยู่ห่างจากผิวกระจกเรียกว่า ระยะภาพ   ตามรูป ก และ ข จุด   P'  เป็นภาพของ   P   โดยมี  PA   เป็นระยะวัตถุและ P'A   เป็นระยะภาพ




ก.วัตถุที่มีลักษณะเป็นจุด ภาพก็เป็นจุด    ข.วัตถุที่มีขนาด  ภาพก็มีขนาด

ที่มา- หนังสือฟิสิกส์ ชั้นม.5 เล่ม2
ก.วัตถุที่มีลักษณะเป็นจุด ภาพก็เป็นจุด    ข.วัตถุที่มีขนาด  ภาพก็มีขนาด


            เพื่อความสะดวกในการหาตำแหน่งภาพ จะใช้รังสีตกกระทบจากจุดหนึ่งๆของ วัตถุเพียง  2  รังสี   ดังนั้นการแสดงการเห็น ภาพของวัตถุในกระจกเงาราบอาจแสดงได้ ดังรูป 2.1.1โดยวางตาในตำแหน่งที่เหมาะสม




ที่มา- หนังสือฟิสิกส์ ชั้นม.5 เล่ม2รูป 2.1.1 การมองเห็นภาพในกระจกเงาราบ

             รูป 2.1.2 แสดงการหาระยะภาพ P เป็นวัตถุที่เป็นจุด ถ้า PB เป็นรังสีจากวัตถุที่ตกกระทบกระจกเงาราบ และ BQ เป็นรังสีสะท้อน ต่อ QB ไปตัดส่วนต่อของ PA ที่จุด P' ตามรูป 2.1.2 ก.  P'  เป็นภาพของ P




ที่มา- หนังสือฟิสิกส์ ชั้นม.5 เล่ม2


รูป 2.1.2การเขียนรังสีของแสงเพื่อหาตำแหน่ง และขนาดของวัตถุที่เกิดจากกรจกเงาราบ





สรุปได้ว่า     ระยะวัตถุเท่ากับระยะภาพเสมอ
          ในรูป 14.8ข ถ้าวัตถุ PQ มีลักษณะเป็นเส้นตรง และ ยาว y จากข้างบนภาพของจุด P และ Q

จะอยู่ที่จุด P' และ Q'  ดังนั้น P' Q' เป็นภาพของ PQ และมีความยาม y'  เพราะ PA = AP'  และ QB=BQ'
 จากเรขาคณิตจะได้ว่า
PQ   =    P' Q'    หรือ      y    =    y'
จะเห็นได้ว่าสำหรับการเกิดภาพในกระจกเงาราบความยาวของภาพเท่ากับความยาวของวัตถุเสมอ

1.  ระยะภาพเท่ากับระยะวัตถุ

2.  ความยาวของภาพเท่ากับความยาวของวัตถุ


            การศึกษาภาพของวัตถุที่เกิดในกระจกเงาราบที่ผ่านมาเป็นกรณีที่วัตถุมีขนาดเล็กกว่ากระจกเงาราบ  ถ้าวัตถุมีขนาดใหญ่กว่ากระจกเงาราบ เราก็สามารถเขียนรังสีโดยใช้กฎการสะท้อนแสงเพื่อแสดงการเกิดภาพในกระจกเงาราบได้เช่นสำหรับวัตถุที่มีรูปทรงเช่นกล่องหรือเก้าอี้  ซึ่งประกอบด้วยจุดจำนวนมาก ดังนั้น เมื่อวัตถุ อยู่หน้ากระจกเงาราบ  เพราะภาพของจุดแต่ละจุดที่เกิดขึ้นจะมีระยะภาพเท่ากับระยะวัตถุ ทำให้  องค์ประกอบอื่นๆของวัตถุที่ปรากฏเป็นภาพก็จะมีขนาดเท่ากันด้วย  จึงทำไห้สรุปได้ว่า ขนาดของภาพที่ได้จากการวางวัตถุไว้หน้าผิวสะท้อนราบใดๆจะเท่ากับขนาดของวัตถุเสมอ ภาพของวัตถุในกระจกเงาราบนั้น  เป็นภาพที่เกิดจากรังสีสะท้อนมาเข้าตาจึงทำไห้ดูเสมือนว่ารังสีเหล่านั้นมาจากภาพอยู่หลังกระจก และ ถ้าเรานำฉากไปวาง ณ ตำแหน่งที่เห็นภาพนั้นก็จะไม่มีภาพใดๆปรากฏบนฉาก ภาพที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า ภาพเสมือน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น