เป็นปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกต
มองดูวัตถุซึ่งอยูในตัวกลางที่ต่างจากตาของผู้สังเกต
แล้วทำให้มองเห็นภาพที่ปรากฏอยู่คนละตำแหน่งกับวัตถุจริง ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสง
การที่ตาของคนจะมองเห็นภาพได้
จะต้องมีรังสีของแสงออกจากวัตถุเดินทางเข้าสู่ตาคน
แต่เนื่องจากแสงเดินทางผ่านตัวกลางที่ต่างกันจึงทำให้เกิดมุมหักเห
ทำให้ทางเดินแสงเปลี่ยนไป
เมื่อแสงเข้าสู่ตาทำให้ผู้มองเห็นภาพที่ปรากฏไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งเดียวกับวัตถุจริง
ทำให้เกิดปรากฏการณ์ความลึกจริงและลึกปรากฏ
ที่มา http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์ม-4/7-การหักเหของแสง/
ถ้าวัตถุอยู่ในตัวกลาง( nว) ที่มีค่าค่าดรรชนีหักเหแสงมาก ตาผู้สังเกตอยู่ในตัวกลาง( nต) ที่มีดรรชนีหักเหแสงน้อย
ผลคือจะเห็นภาพอยู่ใกล้ผิวรอยต่อตัวกลาง(ถ้าคนอยู่ในอากาศ มองวัตถุที่อยู่ในน้ำ จะเห็นภาพอยู่ตื้นกว่าปกติ)
ถ้าในทางกลับกันวัตถุอยู่ในตัวกลาง( nว)
ที่มีค่าค่าดรรชนีหักเหแสงน้อย
ตาผู้สังเกตอยู่ในตัวกลาง( nต) ที่มีดรรชนีหักเหแสงมาก
ผลคือจะเห็นภาพอยู่ใกลผิวรอยต่อตัวกลางมากขึ้น(ถ้าคนดำน้ำ มองวัตถุที่อยู่ในอากาศ
จะเห็นภาพอยู่สูงจากผิวน้ำมากกว่าปกติ)
ที่มา http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์ม-4/7-การหักเหของแสง/
เลนส์บาง
เลนส์
ลำแสงขนานอาจทำให้มารวมกันที่จุดรวมแสงได้โดยการหักเห
ถ้าหากผิวตัวกลางนั้นมีความโค้ง ดังรูป เมื่อมีแสงขนานมาตกกระทบผิวโค้งของแท่งแก้วจะมีการหักเหไปรวมกันที่จุด
F
จุด F นี้เรียกว่า จุดโฟกัส เมื่อแท่งแก้วมีผิวโค้งทั้งสองด้านเรียกว่า เลนส์ ( lens ) โดยการใช้กฎของสเนลล์
เราอาจหามุมที่เบน ไปของทั้งสองผิวได้ แต่เพื่อความสะดวกจะพูดถึงในกรณีของเลนส์บาง
ซึ่งมีที่ใช้ประโยชน์มากมาย
เลนส์บางนั้น ความหนาของเลนส์น้อยมากเมื่อเทียบกับรัศมีความโค้งและ
ทางยาวโฟกัสของเลนส์นั้นเลนส์จะมีรูปร่างต่างๆกัน
เลนส์ที่ตรงกลางหนากว่าด้านริมเป็น เลนส์นูน รวมแสง และเลนส์ที่ตรงส่วนกลางบางกว่าส่วนริมเป็น เลนส์เว้า กระจายแสง
ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~fscijsw/Light&device/light/html/body3-5.htm
การเกิดภาพของเลนส์บาง –เลนส์บางเมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์จะหักเหน้อยมาก
เราจึงคิดเสมือนว่าไม่มีการหักเห
เลนส์เว้า คือเลนส์ที่มีความหนาขอบเลนส์มากกว่าความหนาตรงกลางอาจทำด้วยแก้วหรือพลาสติกก็ได้
มีหลายชนิด
ในตัวกลางหนึ่งๆความยาวโฟกัสของเลนส์เว้ามีค่าเดียวไม่ว่าจะทำ
ด้านใดของเลนส์รับแสงก็ตามแต่เมื่อวางเลนส์เว้าไว้ในตัวกลาง ชนิดต่างกัน
ความยาวของโฟกัสของเลนส์เว้าจะเปลี่ยนไปด้วย คือ ถ้าตัวกลางมีดรรชนีหักเหมากความยาวโฟกัสของเลนส์จะ
มากถ้าตัวกลางมีดรรชนีหักเหน้อยความยาวโฟกัสของเลนส์ จะมีค่าน้อย เช่น
วางเลนส์ในน้ำจะมีความยาวโฟกัสมากกว่า เมื่อวางในอากาศ
หน้าที่ของเลนส์เว้า-ทำหน้าที่กระจาย(แสงคล้ายกระจกนูน)
ส่วนประกอบของเลนส์เว้า ตามภาพดานล่าง
F1 และ F2 คือ
จุดโฟกัสอยู่ด้านหน้าและหลังของเลนส์
เส้นที่ลากผ่านเลนส์ในแนวจุดโฟกัสทั้ง2 ( F1และF2 ) คือ แกนมุขสำคัญ
Cหรือ2Fเป็นจุดศูนย์กลางความโค้งของผิวทั้ง2เลนส์เว้า
ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~fscijsw/Light&device/light/html/body3-6.htm
ในกรณีที่รังสีตกขนานแนวแกนมุขสำคัญ
รังสีจะเบนออกแต่เมื่อต่อแนวรังสีเสมือนจะผ่านจุดโฟกัสหน้าเลนส์ ( ตามภาพคือ
รังสีเส้นที่ 1)
กรณีแนวรังสีตกกระทบผ่านจุดศูนย์กลางเลนส์
แนวรังสีหักเหจะอยู่แนวเดียวกับรังสีตกกระทบ ( ตามภาพคือ รังสีเส้นที่ 2 )
กรณีที่แนวรังสีตกกระทบผ่านจุดโฟกัสพอดี
แนวรังสีหักเหจะขนานแกนมุขสำคัญ ( ตามภาพคือ รังสีเส้นที่ 3 )
เลนส์นูน เป็นตัวกลางโปร่งใสอาจทำด้วยแก้วหรือพลาสติกก็ได้โดยความหนาแน่นตรงกลางของเลนส์นูนจะมากกว่าความหนาที่ขอบมีหลายชนิดตามรูป
ในตัวกลางหนึ่งความยาวโฟกัสของเลนส์นูนจะมีเพียงค่าเดียวไม่ว่าในด้านใดรับแสงก็ตาม แต่เมื่อวางเลนส์นูนในตัวกลางต่างชนิดกัน ความยาวโฟกัสของเลนส์นูนจะเปลี่ยนไปด้วยคือตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหมากความยาวโฟกัสของเลนส์จะมีค่ามาก ถ้าตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหน้อยความยาวโฟกัส ของเลนส์นูนจะมีค่าน้อย ( เหมือนกับกรณีของเลนส์เว้า ) สำหรับส่วนประกอบของเลนส์นูนก็เช่นเดียวกับเลนส์เว้า
ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~fscijsw/Light&device/light/html/body3-7.htm
ในตัวกลางหนึ่งความยาวโฟกัสของเลนส์นูนจะมีเพียงค่าเดียวไม่ว่าในด้านใดรับแสงก็ตาม แต่เมื่อวางเลนส์นูนในตัวกลางต่างชนิดกัน
ความยาวโฟกัสของเลนส์นูนจะเปลี่ยนไปด้วยคือตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหมากความยาวโฟกัสของเลนส์จะมีค่ามาก
ถ้าตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหน้อยความยาวโฟกัส ของเลนส์นูนจะมีค่าน้อย (
เหมือนกับกรณีของเลนส์เว้า ) สำหรับส่วนประกอบของเลนส์นูนก็เช่นเดียวกับเลนส์เว้า
ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~fscijsw/Light&device/light/html/body3-7.htm
ในกรณีที่แนวรังสีตกขนานแกนมุขสำคัญ
แนวรังสีหักเหจริงจะผ่านจุดโฟกัสหลังเลนส์พอดี (รังสีเส้นที่1)
กรณีแนวรังสีตกกระทบผ่านจุดศูนย์กลางเลนส์ แนวรังสีหักเหจะอยู่แนวเดียวกับรังสีตกกระทบ(รังสีเส้นที่2)
กรณีแนวรังสีตกกระทบผ่านจุดศูนย์กลางเลนส์ แนวรังสีหักเหจะอยู่แนวเดียวกับรังสีตกกระทบ(รังสีเส้นที่2)
กรณีแนวรังสีตกกระทบผ่านจุดโฟกัสแนวรังสีจะหักเหขนานแกนมุขสำคัญ(รังสีเส้นที่3)
การหาตำแหน่งชนิดและลักษณะภาพจากสูตรคำนวณ
สูตรความยาวโฟกัส
โดย โฟกัส f เป็น + สำหรับเลนส์นูน -สำหรับเลนส์เว้า
ระยะวัตถุ s เป็น+ ทั้งเลนส์นูนและเลนส์เว้า
ระยะภาพ s’เป็น+สำหรับภาพจริง เป็น-สำหรับภาพเสมือน
สูตรกำลังขยาย
การหาตำแหน่งชนิดและลักษณะภาพจากสูตรคำนวณ
สูตรความยาวโฟกัส
โดย โฟกัส f เป็น + สำหรับเลนส์นูน -สำหรับเลนส์เว้า
ระยะวัตถุ s เป็น+ ทั้งเลนส์นูนและเลนส์เว้า
ระยะภาพ s’เป็น+สำหรับภาพจริง เป็น-สำหรับภาพเสมือน
สูตรกำลังขยาย
สรุปการเกิดภาพจากเลนส์บาง
ตารางสรุปเลนส์นูน
ตำแหน่งของวัตถุ
(s)
|
ตำแหน่งของภาพ(s')
|
ลักษณะของภาพ
|
|
s=
infinity
|
s'=f
|
ภาพจริง
เป็นจุดเล็กๆอยู่หลังเลนส์
|
|
s>2f
|
s'<f
|
ภาพจริง
หัวกลับ ขนาดเล็กกว่าวัตถุ อยู่หลังเลนส์
|
|
s=2f
|
s'<f
|
ภาพจริง
หัวกลับ ขนาดเท่าวัตถุ อยู่หลังเลนส์
|
|
2f>s>f
|
s'<f
|
ภาพจริง
หัวกลับ ขนาดใหญ่กว่าวัตถุ อยู่หลังเลนส์
|
|
s=f
|
s'<f
|
ระบุภาพไม่ได้
|
|
s<f
|
s'<f
|
ภาพเสมือน
หัวตั้ง ขนาดใหญ่กว่าวัตถุ อยู่หน้าเลนส์
|
ภาพจาก เลนส์เว้าจะเป็นภาพเสมือนหัวตั้ง
ขนาดเล็กกว่าวัตถุ อยู่หน้าเลนส์ เสมอไม่ว่าระยะวัตถุจะเป็นเท่าไรก็ตาม
เลนส์นูนและกระจกเว้า
1. เกิดภาพจริงหรือเสมือนก็ได้
2. ภาพจริงหัวกลับอยู่หลังเลนส์นูนหรือหน้าเลนส์เว้า
3. ภาพเสมือนหัวตั้งอยู่หน้าเลนส์นูนหรือหลังกระจกเว้า
4. ภาพจริงอาจมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ เท่ากับวัตถุหรือเล็กกว่าวัตถุก็ได้
5. ภาพเสมือนมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ
1. เกิดภาพจริงหรือเสมือนก็ได้
2. ภาพจริงหัวกลับอยู่หลังเลนส์นูนหรือหน้าเลนส์เว้า
3. ภาพเสมือนหัวตั้งอยู่หน้าเลนส์นูนหรือหลังกระจกเว้า
4. ภาพจริงอาจมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ เท่ากับวัตถุหรือเล็กกว่าวัตถุก็ได้
5. ภาพเสมือนมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ
เลนส์เว้าและกระจกนูน
1. เกิดภาพเสมือน หัวตั้งอยู่หน้าเลนส์เว้าหรืออยู่หลังกระจกนูน
2. ภาพเสมือน หัวตั้งอยู่หน้าเลนส์เว้าหรืออยู่หลังกระจกนูน
3. ภาพเสมือนมีขนาดเล็กกว่าวัตถุ
1. เกิดภาพเสมือน หัวตั้งอยู่หน้าเลนส์เว้าหรืออยู่หลังกระจกนูน
2. ภาพเสมือน หัวตั้งอยู่หน้าเลนส์เว้าหรืออยู่หลังกระจกนูน
3. ภาพเสมือนมีขนาดเล็กกว่าวัตถุ
..
ตอบลบ