กระจกเงาทรงกลม
เป็นส่วนหนึ่งของผิวโค้งทรงกลม แบ่งเป็นกระจกโค้งเว้า ( concave
mirror ) และกระจกโค้งนูน (convex mirror )
รูปแสดงกระจกโค้งนูนและโค้งเว้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม
กระจกเว้าและกระจกนูน
มีจุดศูนย์กลางความโค้งที่จุดศูนย์กลางวงกลม ( c )
วัดตามแกนมุขสำคัญไปถึงกระจก เท่ากับรัศมี (R) วัดจากกระจกถึงกึ่งกลางความยาว R เท่ากับ
ความยาวโฟกัส (f)
ที่มา http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์-4/3-มวล-แรง-และกฎการเคลื่อน
ที่มา http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์-4/3-มวล-แรง-และกฎการเคลื่อน
ที่มา http://ikaen2520.wordpress.com/1-ฟิสิกส์-4/3-มวล-แรง-และกฎการเคลื่อน
จากรูปบน
เมื่อมีรังสีขนานกับแกนมุขสำคัญ เข้ามาตกกระทบกระจกโค้งเว้า จากกฏการสะท้อน
จะทำให้ได้รังสีสะท้อน เข้ามาตัดกันที่จุดโฟกัส และเมื่อรังสีขนานตกกระทบกระจกนูน จะทำให้รังสีสะท้อนแยกออก
แต่เมื่อต่อแนวรังสีสะท้อนไปด้านหลังกระจก จะตัดกันที่จุดโฟกัส
กระจกเงาโค้งทรงกลมเป็นส่วนหนึ่งของผิวโค้งทรงกลม ถ้าใช้ผิวโค้งเว้าของกระจกเป็นผิวสะท้อนแสง เรียกว่า กระจกเว้า ดังรูป
2.2.1 ก. และถ้าใช้ผิวโค้งนูนของกระจกเป็นผิวสะท้อนแสง เรียกว่า กระจกนูน ดังรูป
2.2.1 ข. พิจารณารูปกระจกเว้าและกระจกนูน ในรูป2.2.2 C เป็นศูนย์กลางความโค้งของกระจก
และของทรงกลม R เป็นรัศมีความโค้งของกระจก และรัศมีของทรงกลม
เส้นตรงที่ลากผ่านจุด C ไปหาตำแหน่ง V ที่เป็นจุดกึ่งกลางบนผิวโค้งของกระจกเรียกว่า
เส้นแกนมุขสำคัญ MM/ เป็นความกว้างของกระจกโค้ง
ซึ่งมีค่าน้อย เมื่อเทียบกับรัศมีความโค้ง
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/01/page8.html
สำหรับรังสีตกกระทบทั้งหลายที่ขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญของกระจกเว้า และมีแนวไม่ห่างจากแกนมุขสำคัญมาก
รังสีสะท้อนจะตัดแกนมุขสำคัญที่จุดๆหนึ่ง
ซึ่งอยู่หน้ากระจกห่างจากจุดยอดของกระจกเท่ากับ
ครึ่งหนึ่งของรัศมีความโค้งของกระจก จุดนี้รัยกว่า โฟกัส ดังรูป 14.10 จุด F
เป็นโฟกัสและระยะทางจากโฟกัสถึงจุดยอดของกระจก เรียกว่า ความยาวโฟกัส
ถ้า f แทนความยาวโฟกัส
และ R แทนรัศมีความโค้งของกระจกเว้า
F=R/2
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/01/page8.html
ในกรณีของกระจกนูน รังสีตกกระทบของแสงที่มีแนวขนานกับแกนมุขสำคัญจะสะท้อนที่กระจกนูนตามกฎการสะท้อนของแสงดังรูป2.2.3ถ้าต่อแนวของรังสีสะท้อนให้ย้อนกลับไปพบกันจะได้จุดตัดของรังสีสะท้อนหรือโฟกัสของกระจกความยาวโฟกัสของกระจกนูนเป็ครึ่งหนึ่งของรัศมีความโค้งเช่นเดียวกับกระจกเว้าดังสมการสำหรับรังสีทั้งหลายที่ขนานกันแต่ไม่ขนานกับแกนมุขสำคัญ เมื่อสะท้อนกับกระจกโค้งจะไปตัดกันที่จุดบนราบโฟกัส รูป 2.2.4แสดงการสะท้อนแสงที่กระจกเว้าในกรณีที่รังสีตกกระทบไม่ขนานเส้นแกนมุขสำคัญ อย่างไรก็ตาม
หลักเกณฑ์นี้ใช้ได้เฉพาะรังสีตกกระทบที่ทำมุมเล็กกับแกนมุขสำคัญ และตกกระทบกระจกบริเวณใกล้กึ่งกลางกระจกเท่านั้น
การหาตำแหน่งภาพวัตถุมีขนาดที่อยู่หน้ากระจกเว้าสรุปเป็นหลักใช้ในการเขียนแสดงการเกิดภาพดังนี้
•เขียนรังสีตกกระทบจากปลายวัตถุถึงผิวกระจกในแนวซึ่งขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญจะได้รังสีสะท้อนจากผิวกระจกผ่านโฟกัส
•เขียนรังสีตกกระทบจากปลายวัตถุผ่านจุดโฟกัสถึงผิวกระจก จะได้รังสีสะท้อนจากผิวกระจกขนานกับแกนมุขสำคัญ
•เขียนรังสีตกกระทบจากปลายวัตถุผ่านศูนย์กลางความโค้งถึงผิวกระจก จะได้รังสีสะท้อนจากผิวกระจกย้อนกลับทางเดิม
สำหรับขนาดของภาพมีทั้งใหญ่กว่า เท่าและเล็กกว่าวัตถุ
เรียกการเปรียบเทียบขนาดของภาพกับขนาดของวัตถุ ว่า การขยาย ให้ M แทนการขยายจะได้
สำหรับการเกิดภาพของกระจกนูน พบว่าภาพจากกระจกนูน
เป็นภาพเสมือนที่มีขนาดเล็กกว่าวัตถุทั้งสิ้น การหาตำแหน่งภาพ นอกจากจะใช้วิธีเขียนรังสีของแสงตกกระทบและรังสีของแสสะท้อนแล้ว ยังสามารถใช้วิชาคณิตศาสตร์คำนวณหาตำแหน่งภาพได้
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/01/page8.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น